Tuesday, March 25, 2008

7. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แนะนำเคล็ดลับ ในการเรียนเก่ง

ที่มา http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6443169/X6443169.html

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แนะนำเคล็ดลับ ในการเรียนเก่ง
ตัดตอนมาจากหนังสือ "เดอะท็อปซีเคร็ต"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ พยายามจะอธิบายความลับสุดยอดนี้ เขาย้ำว่า การค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ทุกอย่างของเขา มาจากจินตนาการ และถ้าจะเทียบระหว่างความรู้ กับ จินตนาการ เขาบอกว่า จินตนาการสำคัญกว่า จินตนาการเป็นเชาว์ปัญญาขั้นสูงสุด และมันจะนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ๆได้อย่างไม่สิ้นสุด

ขณะที่มีชีวิตอยู่ เขาย้ำนักย้ำหนาหลายต่อหลายครั้งกับนักศึกษาที่เขาสอน และต่อที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์อยู่บ่อยๆว่า “จินตนาการ สำคัญมากกว่าความรู้” แต่เขาก็ไม่อธิบายต่อว่า เพราะอะไร จินตนาการจึงสำคัญกว่าความรู้

ภาพในจินตนาการที่จะมีพลังดึงดูดให้ประสบความสำเร็จจะต้องใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย เช่น นักเรียนสองคน สามารถจินตนาการภาพ F=ma ได้ แต่คนหนึ่งใส่ความรู้สึกเข้าไปว่า ....อ้อ F มันเป็นแรงนะ เราเคยรู้สึกตอนถูกผลัก m เป็นมวล รู้สึกได้เลยเพื่อนที่ตัวใหญ่มวลจะมาก ส่วนความเร่ง a เคยรู้สึกตอนเล่นรถไฟเหาะ ฯลฯ พยายามเชื่อมโยงความรู้สึกทั้งสามตัวนี้ ให้มีความสัมพันธ์กันแบบสูตร F=ma ให้ได้ ซึ่งความรู้สึกที่ใส่เข้าไป จะต่างกันไปตามประสบการณ์ และความสามารถในการบิ๊วด์ความรู้สึกของแต่ละคน เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสาขาวิชาไม่ว่า จะเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ( ในหนังสือเดอะท็อปซีเคร็ต ใช้คำว่า "ภาพแห่งความรู้สึก”)

นักเรียนที่เรียนเก่ง ก็ค้นพบความลับนี้ เขาจะกลับมานั่งคิดและจินตนาการต่อที่บ้านเสมอ นักเรียนทุกคนในห้อง เรียนกับอาจารย์คนเดียวกัน บรรยากาศเดียวกัน แต่ความสามารถในการจินตนาการต่างกัน สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในหมู่เด็กที่เรียนเก่งคือ จะมีจินตนาการสูงมาก ความลับนี้เขาไม่ได้บอกใคร อาจเพราะไม่อยากบอก หรือ ไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไร เด็กที่เรียนเก่งทุกคนจะมีพรสวรรค์ทางด้านนี้ คือเมื่อเห็นภาพปุ๊บ เขาจะใส่ความรู้สึกเข้าไปปั๊บ เกิดขึ้นเกือบจะพร้อมๆกัน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้ด้วยว่าทำไม แต่สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกได้

ประสบการณ์ที่เหมือนกันเปี๊ยบระหว่างคนสองคน จึงส่งอิทธิพลต่อวิถีชีวิตได้ไม่เท่ากัน เพราะความสามารถในการจินตนาการต่างกัน แน่นอนว่า อุปนิสัย ความชอบ ความสนใจ ความถนัด ฯลฯ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีพลังแห่งจินตนาการสูงขึ้นหลังจากได้พบกับประสบการณ์จริง พวกเขาจะเห็นภาพแห่งความสำเร็จในเรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด ชัดเจนกว่าคนอื่น จึงมีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้ง่ายกว่า

ประสบการณ์จากชีวิตจริง จะประทับลงในจิตใต้สำนึกได้ ต้องมีจินตนาการ เราอาจจะเคยตีแบดมินตัน แต่ผ่านแล้วก็ผ่านเลยไป ไม่เคยจินตนาการต่ออีก ประสบการณ์ในครั้งนั้นก็สูญเปล่า การตีในครั้งต่อไปเราจะไม่เก่งขึ้น เพราะจิตใต้สำนึกจะเข้าใจภาพแห่งจินตนาการเท่านั้น มันไม่มีส่วนเชื่อมต่อโดยตรงกับทวารทางกายทั้งห้า เหมือนอย่างจิตสำนึก

อัจฉริยะของโลกทุกคน ทุกสาขา ค้นพบความลับสุดยอดนี้แล้ว นักศึกษาแพทย์ที่เก่งๆ จะจินตนาการลักษณะของเส้นเลือดร่างกายแต่ละระบบ พยายามบิวด์ความรู้สึกเขาไป แล้วค่อยไปเรียนรู้ลักษณะย่อยของเส้นเลือดแต่ละเส้นในระบบนั้น นิสิตวิศวกรรมที่เก่งๆ สามารถพิสูจน์สมการทางแคลคูลัสได้ โดยคิดย้อนจากคำตอบขึ้นมา ทำให้ไม่ว่าอาจารย์จะกำหนดสมการแบบไหนมา เขาก็ตอบถูกเสมอ เพราะเอาคำถามของอาจารย์นั่นแหละ เป็นตัวตั้งคิดย้อนขึ้นไปพิสูจน์ ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่เพราะพวกเขามีมันสมองที่ใหญ่กว่าคนอี่น แต่เพราะพวกเขาพบความลับนี้ อาจจะด้วยพรสวรรค์ หรือ การเรียนรู้ แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ ไม่มีใครที่สามารถเปิดเผยความลับนี้ให้คนอื่นได้รับรู้

ถ้าเราไปถามศิลปินนักวาดภาพที่เก่งๆ ว่าทำไมถึงวาดภาพได้ขนาดนี้ เขาจะตอบไม่ได้ ทั้งๆที่ ภาพนั้นฝังอยู่ในใจตั้งแต่แรกแล้ว มือเขาเพียงแต่วาดไปตามความรู้สึกเท่านั้นเอง ศิลปินระดับนี้ จึงต้องบิวด์อารมณ์ก่อนทำงานเสมอ เพราะอารมณ์จะทำให้ภาพในใจชัดเจนยิ่งขึ้น วันไหนไม่มีอารมณ์ จะทำงานไม่ได้เลย

ไม่เฉพาะคนเรียนเก่ง เทคนิคการจินตนาการนี้ อ้จฉริยบุคคลของโลกล้วนล่วงรู้แล้ว ในหนังสือ เดอะท็อปซีเคร็ต ยกตัวอย่าง ไทเกอร์วู๊ดส์ ที่เขาบอกเคล็ดลับว่า เขาสร้างภาพแห่งความรู้สึกว่าลูกลงหลุมไปก่อนแล้วทุกครั้ง ก่อนที่จะตีลูกออกไป แล้วลูกจะวิ่งไปตามแรงดึงดูดของความรู้สึก

อีกตัวอย่างในหนังสือ ตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันท์ พระองค์ทรงเห็นว่า ทหารยังบิ๊วด์ความรู้สึกแห่งชัยชนะได้ไม่ชัดพอ พระองค์จึงรับสั่งว่า มื้อต่อไปพวกเราจะไปฉลองกันอย่างอิ่มหนำสำราญในตัวเมืองจันท์ ทหารบิ้วด์ความรู้สึก จนอิน แล้วบอกว่า ถ้าอย่างนั้นหม้อข้าวพวกนี้ก็ไม่มีประโยชน์แล้วสิ ทุบทิ้งให้หมด

ตัวอย่างนี้แสดงว่า ไม่ต้องถึงระดับบรรลุญานหรือฌาน ถ้าสามารถบิ้วด์ความรู้สึก จนถึงระดับที่เท่ากับความรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดแรงดึงดูดให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงๆ

ในหนังสือมีตัวอย่างอีกมาก อ่านแล้วเข้าใจเลย และนี่ถ้ากำหนดสติจนจับความรู้สึกได้ จะมีพลังมากมายมหาศาลขนาดไหน เพราะขนาดทหารซึ่งไม่เคยฝึกกำหนดสติยังจินตนาการบิ้วด์ความรู้สึกได้

ทอม แฮ้งค์ ก็บอกในเรื่อง Cast away ซึ่งคนดูหนังเรื่องนี้จะรู้ว่า เขาเล่นได้ราวกับไปติดเกาะอยู่คนเดียวกลางมหาสมุทรจริงๆ หนังสนุกมาก มีนักข่าวไปถามทอม แฮ้งค์ ว่า ทำไมเล่นได้เหมือนจริงขนาดนี้ ทอมแฮ้งค์ตอบว่า ผมจินตนาการสร้างความรู้สึกขึ้นมาก่อน เป็นความรู้สึกที่เหมือนกับว่า ผมเครื่องบินตกแล้วไปติดเกาะจริงๆ หลังจากนั้น ทุกอย่างมันก็เหมือนจริงเองนั่นแหละ

ทอม แฮ้งค์ ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่เขาสามารถกำหนดเวทนา จนย้อนกลับ ออกทางทวารหก และอายตนภายนอกได้

เล่าไม่หมด แต่ตัวอย่างในหนังสือ จะทำให้ get ทั้ง นโปเลียน จูเลียซ ซีซ่าร์ ไมเคิลแองเจลโล เอดิสัน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ฯลฯ และมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มายืนยันผลด้วย

สมองคนเราถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างไม่แตกต่างกัน สิ่งที่ต่างกันคือความสามารถในการจินตนาการ ซึ่งก็คือความสามารถในการเชื่อมโยงแขนงเส้นใยประสาท ไอน์สไตน์ จึงบอกว่า จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้ จงพยายามจินตนาการไปแล้วอย่าลืมใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย ในที่สุดมันจะมีพลังมหัศจรรย์จากจิตใต้สำนึก มาขับดันให้คุณเกิดการหยั่งรู้โดยอัตโนมัติ


จากคุณ : ปัจจตัง - [ 21 มี.ค. 51 09:12:33 ]


ต่อไปนี้เป็นบางความเห็นจากกระทู้นั้น

ความคิดเห็นที่ 3
ไอน์สไตน์ลืมบอกต่อว่า "จินตนาการที่ปราศจากความรู้ = เพ้อฝัน"

จากคุณ : ไม่มีสมาชิกชื่อนี้

ความคิดเห็นที่ 14
จินตนาการของไอน์สไตน์ หมายถึงแรงดึงดูด ความต้องการ แรงปารถนาใช้สติไม่ใช่ ใช้ความรู้อะไรมากหลอกเราทุกคนก็ทำได้ไอน์สไตน์ไม่ได้จิตนาการว่า จะส้รางระเบิดยังไง หรือจะแก้โจทด้วยวิธีไหนแต่ไอน์สไตน์ จินตนาการว่าเค้าทำได้แล้ว และต้องการให้มันสำเร็จนี่ต่างหากเล่าที่ไอน์สไตน์ พยายามจะบอกความลับที่เค้ารู้เกี่ยวกับ จักรวาลแรงที่มีผลกระทบกับทุกๆคนบนโลก.
จากคุณ : fsis_5

ความคิดเห็นที่ 20
รู้สึกว่าหลายๆคนหลงประเด็นไปนะครับ

จินตนาการ ไม่ใช่จินตนภาพ การทำได้ตามที่ใจสั่ง Mind set นั้นเป็นอีกเรื่องนึง ที่สามารถทำให้เราบรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยพลังจากจิตใต้สำนึก
แต่คำว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้นั้นหมายถึง


คนที่มีจินตนาการ มีสิทธิ์ที่จะสร้างความรู้ได้ โดยอาศัยความรุ้อื่นเข้าช่วย แต่คนที่ไม่มีจินตนการ ถึงจะมีความรู้แค่ไหน ก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
ทั้งสองอย่างมันต้องไปด้วยกัน แต่จินตนาการเป็นส่วนที่ถ้าขาดไป ความรู้และทฤษฏีใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้


จะเห็นว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ จินตนภาพเลย ผมเดาว่า คนเขียนหนังสือเค้าพยายามจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเชื่อในหลักการทำ mind set จึงยกคำพูดของไอสไตน์มาเพิ่มน้ำหนัก

งานวิจัยระดับแนหน้าในหลายๆสาขาวิชา จะเกิดจากการจินตนาการเพิ่มเติม โดยอาศัยฐานความรู้เดิม จากนั้นก็ทำการทดลองพิสูจน์ ถ้ามันเป็นจริง ก็จัดเป็นองความรู้ใหม่

ตัวอย่างเช่น โคลัมบัส จินตนาการว่าโลกกลม จึงจินตนาการต่อไปอีกว่า ถ้าบังคับเรือไปทางตะวันตกเรื่อยๆ ต้องพบประเทศอินเดีย (ในสมัยนั้นยังไม่ทราบกันว่ามีทวีปอเมริกากั้นอยู่) แต่โคลัมบัสไม่พบอินเดีย แต่พบทวีปอเมริกาแทน

จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีจินตนาการที่คิดว่าโลกกลม โคลัมบัสไมม่มีทางออกเรือ แล้วได้ความรู้ใหม่ว่า มีทวีปอเมริกาอยู่ทางทิศตะวันตก

ดังนั้นจินตนาการจึงสำคัญกว่าความรู้ เพราะจินตนาการเป็นหมุดอันแรกที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความรู้และทฤษฏีใหม่ๆ
เป็นความเห็นหนึ่งครับ


ถ้าอยากเก่งมีวิธีฝึกครับ โดยให้พยายามคิดให้ได้ว่า มนุษย์คนแรกที่คิดเรื่องนั้นได้ เค้าคิดได้อย่างไร เพราะความยากของความรู้ต่างๆ อยู่ที่มนุษย์คนแรกที่คิดได้และเข้าใจได้ ซึ่งอันี้ต้องอาศัยพลังแห่งจินตนาการ

พวกเรานั้นมัวแต่เรียนตามความรู้ที่คนอื่นเค้าคิดไว้แล้ว จึงทำให้คิดไม่ได้ ดังนั้นต้องเปลี่ยนวิธีเรียน เป็นนอกจากจะเข้าใจความรู้ที่เค้าคิดไว้แล้ว ยังต้องเข้าใจที่มาด้วยว่า ไอ้คนแรกมันคิดมาได้ไงฟะ ทำบ่อยๆ จะเก่งครับ
จากคุณ : Onunu (tripplebond)