Saturday, March 29, 2008

9. ประสบการณ์เป็น Teaching Assistant ของพี่ๆ สมาชิกในพันทิป (pedagogy)

ผมตั้งคำถามไว้แบบนี้ครับ

อยากฟังประสบการณ์ TA ครับที่ต้องสอน มีวิชาเป็นของตัวเองเลยหนะครับ ถือว่ายากไหมครับ ยิ่งเราเป็นคนไทย แล้วต้องไปสอนคนเมกัน แล้วมีปัญหาอะไรไหมครับ มีข้อแนะนำไหมครับ

คือว่าตอนนี้ได้รับ TA offer ครับจาก 2 มหาลัย... มหาลัยนึงให้สอนตั้งแต่ปี 1 เลย อีกมหาลัยให้เริ่มสอนปี 2 (ปีหนึ่งเป็นติวเตอร์ + เรียน Approches to Teaching College Composition)

กังวลเรื่องสอนตั้งแต่ปี 1 นี่แหละครับ จะไหวไหม เลยอยากรู้หนะครับ ขอบคุณมากครับ





และนี่คือคำตอบที่ได้รับจากพี่ๆ ห้องไกลบ้านในพันทิป

จะไหวไหม?

ถ้าต้องทำ มันก็ไหวแหล่ะครับ (แต่ทำได้ดีเท่าไรนั้นเป็นอีกเรื่อง อิอิ)

ผมก็คิดแบบนี้เเหละ ตอนได้ offer ว่า จะทำได้ไหมน้า จะเอาอะไรไปสอน เพราะเราก็ไม่เคยสอนการเขียนกับเด็กฝรั่งมาก่อนเลยก่อนหน้านั้น ไม่เคย take course เกี่ยวกับการสอนการเขียนมาก่อนเลยด้วย ฯลฯ แต่ว่าพอไปทำจริงๆ มันก็ถูๆไถๆไปได้นะครับ

แต่ผมโชคดีตรงที่ว่าก่อนเปิดเรียน เค้าจะมี orientation ของวิชาที่จะสอนโดยเฉพาะเป็นแบบ 1 อาทิตย์เต็ม เค้าก็สอนตั้งแต่เริ่มทำ syllabus สอนตั้งแต่การออกแบบ assignment สอนการตรวจเปเปอร์ ฯลฯ ก็ทำให้เรารู้ว่าอย่างน้อยๆ คนอื่นๆเขาทำกันอย่างไรอ่ะครับ ก็เลยโชคดีไป

แต่จริงๆแล้วไปสอน freshmen นี่ก็ไม่แย่มากนะครับ คือ เด็กเมกันจะเขียนคล้ายๆภาษาพูดมากกว่า เช่น "...Well, I think that....if you..." ประมาณนี้ คือเด็ก american ไม่คุ้นกับ academic writing อ่ะครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก็คือ หาบทอ่าน (เพราะเราสอน writing ที่มีพื้นฐานจากบทอ่านทางวิชาการ ไม่ใช่สอนแบบ What did you do in your childhood ทำนองนั้น) เพราะฉะนั้นก็หาบทอ่านที่เป็นแนวของเรา และมัน apply ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเอามา discuss กันในห้อง เช่น บางคนชอบ Foucault บางคนชอบ Barthes บางคนชอบเกี่ยวกับทางภาษา เช่น การใช้ accent แทนตัวละครในการ์ตูน Disney ซึ่งเด็กอเมกันน่าจะชอบเรื่องพวกนี้ ฯลฯ

ปัญหา คือ ต้องเตรียมตัวเยอะหน่อยสำหรับเทอมแรก และถ้ายังไม่คุ้นกับการตรวจงาน อาจจะตรวจงานไปจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่นที่ต้องทำอ่ะครับ ถ้าสอน 2 sections ก็น่าจะ 30 คน นี่ก็เยอะพอดูเลยแหละ ผมสอนแค่ 23 ยังนั่งตรวจงานเป็นวันเลย (ช่วงเเรก) เพราะมัน class การเขียนใช่ป่ะครับ ก็ต้องอ่านเยอะหน่อย แต่ตอนหลังก็ตรวจเร็วขึ้น เพราะจะดูเฉพาะบางจุดที่สำคัญๆ ไม่ได้ดูทุกจุด ซึ่งจริงๆมันไม่จำเป็นอยู่แล้ว

ปรกติเวลาเค้าสอน writing เค้าจะมี theme ของ class อ่ะครับ เพื่อควบคุมให้บทอ่าน การวิพากษ์ในห้องเป็นไปอย่าง theme นั้น แล้วแต่ถนัด เช่น ผมชอบเรื่องภาษา ผมก็จะเป็นเกี่ยวกับ "Representing races, genders, and cultures in Disney Films" อะไรก็ว่าไป เอาที่เราถนัดแล้วคิดว่าเด็กจะชอบอ่ะครับ

ผมว่าสิ่งที่จะต้องมีคือ ไหวพริบ หรือ ความรู้รอบตัวที่กว้างหน่อย มีไหวพริบในการโต้กลับกับเด็ก บางทีเด็กไม่เห็นด้วย เราก็ต้องฝึกเด็กโดยต้องโต้กลับให้ได้ หรือ ถามกลับให้คิดอ่ะครับ แต่การจะโต้กลับได้มันก็ต้องรู้เรื่องนั้นๆอย่างดีใช้ได้เลยใช่ป่ะครับ ผมถึงให้เลือกหัวข้อที่เราถนัดและรู้มากไงครับ

สื่อการสอนก็ใช้ได้นะครับ วิดีทัศน์ ดีวีดี ละคร รายการทีวี อินเตอร์เน็ท ห้องสมุด ก็พยายามให้เด็กฝึกๆใช้เพื่อเป็น springboard ในการนำไปสู่เนื้อหาบทเรียนหรือนำไปสู่ assignment ที่จะให้เด็กทำ

เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ

จากคุณ : texanprofessor (krisdauw)



เคยได้สอนเด็กปอโทครับ สมัยอยู่เยอรมัน วิชาปีหนึ่งของเด็กปอโท ผมเป็นติวเต้อสอน introduction to finance เนื้อหาอาจารย์ให้จัดตามที่ตัวเองอยากสอน หลักๆผมจะเข้าไปนั่งฟังเลคเช่อ แล้วดูว่าเลคเช่ออาจารย์ขาดอะไรบ้าง ขาดอะไรในที่นี้หมายความว่าส่วนไหนที่ผมมองแล้วว่าไม่เคลียร์ นักเรียนไม่เข้าใจแน่ๆ ก้อจะดึงตรงนั้นมาสอน ในเคสของผมนั้นผมมองว่าอาจารย์สอนแบบเน้นformality และ rigorมากไป (หมายถึงว่า อธิบายคำจำกัดความ และเนื้อหาต่างๆ โดยที่ไม่บอกเด็กว่าทฤษฎีเหล่านี้มีไอเดียมาจากอะไร) เวลาอาจารย์เขียนพรูฟต่างๆ ก็ไม่ได้บอกโครงสร้างและสเต็ปต่างๆให้ชัดเจน สิ่งที่เด็กจะขาดไปคือการมองภาพรวมของทฤาฎีให้ออก เพราะงั้นผมมองว่าส่วนนึ้คือส่วนที่การสอนของอาจารย์ขาดไป ผมก็มาเติมตรงนี้ ค่อยๆไล่ไป ว่าภาพรวมอยู่ตรงไหน แล้วทำไมเราต้องมานั่งเรียนสิ่งเหล่านี้

การสอนตรงนี้ถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ เด็กเดินเข้ามาบอกหลายคนว่าชอบ เพราะว่าการที่เราบอกเขาว่าเนื้อหาเหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง ทำไมต้องมานั่งเรียน ทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้มีmotivationในการเรียนที่แท้จริง

ส่วนที่ต้องปรับปรุงคือ ผมสอนผิดเยอะไปพอสมควร ผิดโดยไม่รู้ตัว เมื่อตัวเองต้องมานั่งเรียนปอเอกเรื่องพวกนี้ทำให้เรารู้ว่าลึกๆแล้ว สิ่งที่เคยอธิบายไปนั้นไม่จริงเสมอไป ซึ่งตอนที่สอนนั้นเราไม่รู้

เทคนิคอย่างหนึ่งที่ผมทำคือผมจะเขียนสไลด์ไปก่อน จะไม่มาเขียนบนกระดานไป อธิบายไป เพราะตอนไปสอนครั้งแรกเสียสมาธิมากๆ ผมเป็นคนทำสองอย่างในเวลาเดียวกันไม่ได้ จะพูดก้อพูด จะเขียนก้อเขียน ซึ่งช่วยได้เยอะมากๆ เพราะเวลาที่ตัวองต้องอธิบาย พอไม่ต้องมาเขียน ก็จะมีสมาธิถ่ายทอดออกมาได้เป็นระบบยิ่งขึ้น คือ พอสมาธิดี ก้อเรียบเรียงคำพูดได้ดีขึ้นนั่นเอง

จากคุณ : บุ้ง (B Oprysk



ตอนนี้เป็น Totur อยู่เหมือนกันค่ะ แต่เคสเราสอนเด็กสิงคโปร์ ตอนแรกก็ประหม่ามาก เพราะเรามันไก่กามากๆ แต่ก็อาศัยว่าฟังจากในห้องบรรยายรวมมา แล้วเอามาคุยกับเด็กๆในห้องเล็กของเรา เราใช้อีเมลเข้ามาช่วยค่ะ คือ พอเรียนเสร็จเราก็ทำเป็นแบบweekly email ส่งออกไป แล้วก็สั่งให้เขียน โดยเรากำหนดหัวข้อให้ เอาแค่หน้าเดียว(เราต้องทำคะแนนเข้าห้อง กับคะแนนความมีส่วนร่วม เด็กไม่ค่อยพูดเลยต้องให้เค้าทำงานมาส่งด้วย)

ตอนนี้สอนมาได้แล้ว 5 ครั้ง ที่ผ่านมาก็โอเค นักเรียนเราน่ารัก ตอนนี้กลายเป็นชอบสอนไปเลย

พูดถึงเรื่องทำเกรด ที่นี่ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ เพราะทุกอย่างจะมีเกณฑ์มาให้หมดว่า อันนี้ได้เท่านี้ๆๆ ตัดคะแนนอย่างนี้ๆ ก็ทำตามที่เค้าสั่ง ก็ยังไม่มีปัญหาอะไรค่ะ

จากคุณ : Semangka



Hi Khun เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง, Khun บุ้ง and Khun krisdauw gave very good suggestions above. I am still learning how to teach even though I am a professor now. As K. krisdauw and Nong บุ้ง used to share with me on this webboard, being well-organized is a must. My suggestion is being well-prepared for class. To me, it takes 2-3 days to prepare for lecturing 1-2 hours. It has been better in terms of materials and tecniques when I teach the same course for second/third time. Now, I can see how students react with the materials and my style and improve my performance.

To me, the most difficult thing is to balance between those who are slow and fast learners. I tried to scan and evaluate their learning styles as I teach so that I can adjust the level of materials and speed through out the course. These styles can be adjusted; but try to stick with your syllabus in terms of materials and assignments through out the course, ortherwise the students will complain for a suddenly changed policy even though we try to adjust for them.

It is good that they give you a chance to teach when you are a doctoral student; otherwise it will be hard when you become a professor coping with both teaching and research at the same time. Good luck to you anyway.

Hello to Nong บุ้ง and K. krisdauw. How have you been? I got better teaching evaluation last semester, but still have more points to go. I have a new course again in this semester. Too much preparation and too little research time. But, I learn. Tenure may be far away from me.... and I hope I will make it...

จากคุณ : A 100% Positive



Source: http://www.pantip.com/cafe/klaibann/topic/H6433774/H6433774.html

Friday, March 28, 2008

8. Composition/GRE Study Skill: GRE AWA

I did not write this study guide; it's from 800Score. Thanks!


Source: 800Score Website ..

Read this doc on Scribd: GRE AWA


Tuesday, March 25, 2008

7. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แนะนำเคล็ดลับ ในการเรียนเก่ง

ที่มา http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6443169/X6443169.html

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แนะนำเคล็ดลับ ในการเรียนเก่ง
ตัดตอนมาจากหนังสือ "เดอะท็อปซีเคร็ต"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ พยายามจะอธิบายความลับสุดยอดนี้ เขาย้ำว่า การค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ทุกอย่างของเขา มาจากจินตนาการ และถ้าจะเทียบระหว่างความรู้ กับ จินตนาการ เขาบอกว่า จินตนาการสำคัญกว่า จินตนาการเป็นเชาว์ปัญญาขั้นสูงสุด และมันจะนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ๆได้อย่างไม่สิ้นสุด

ขณะที่มีชีวิตอยู่ เขาย้ำนักย้ำหนาหลายต่อหลายครั้งกับนักศึกษาที่เขาสอน และต่อที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์อยู่บ่อยๆว่า “จินตนาการ สำคัญมากกว่าความรู้” แต่เขาก็ไม่อธิบายต่อว่า เพราะอะไร จินตนาการจึงสำคัญกว่าความรู้

ภาพในจินตนาการที่จะมีพลังดึงดูดให้ประสบความสำเร็จจะต้องใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย เช่น นักเรียนสองคน สามารถจินตนาการภาพ F=ma ได้ แต่คนหนึ่งใส่ความรู้สึกเข้าไปว่า ....อ้อ F มันเป็นแรงนะ เราเคยรู้สึกตอนถูกผลัก m เป็นมวล รู้สึกได้เลยเพื่อนที่ตัวใหญ่มวลจะมาก ส่วนความเร่ง a เคยรู้สึกตอนเล่นรถไฟเหาะ ฯลฯ พยายามเชื่อมโยงความรู้สึกทั้งสามตัวนี้ ให้มีความสัมพันธ์กันแบบสูตร F=ma ให้ได้ ซึ่งความรู้สึกที่ใส่เข้าไป จะต่างกันไปตามประสบการณ์ และความสามารถในการบิ๊วด์ความรู้สึกของแต่ละคน เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสาขาวิชาไม่ว่า จะเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ( ในหนังสือเดอะท็อปซีเคร็ต ใช้คำว่า "ภาพแห่งความรู้สึก”)

นักเรียนที่เรียนเก่ง ก็ค้นพบความลับนี้ เขาจะกลับมานั่งคิดและจินตนาการต่อที่บ้านเสมอ นักเรียนทุกคนในห้อง เรียนกับอาจารย์คนเดียวกัน บรรยากาศเดียวกัน แต่ความสามารถในการจินตนาการต่างกัน สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในหมู่เด็กที่เรียนเก่งคือ จะมีจินตนาการสูงมาก ความลับนี้เขาไม่ได้บอกใคร อาจเพราะไม่อยากบอก หรือ ไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไร เด็กที่เรียนเก่งทุกคนจะมีพรสวรรค์ทางด้านนี้ คือเมื่อเห็นภาพปุ๊บ เขาจะใส่ความรู้สึกเข้าไปปั๊บ เกิดขึ้นเกือบจะพร้อมๆกัน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้ด้วยว่าทำไม แต่สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกได้

ประสบการณ์ที่เหมือนกันเปี๊ยบระหว่างคนสองคน จึงส่งอิทธิพลต่อวิถีชีวิตได้ไม่เท่ากัน เพราะความสามารถในการจินตนาการต่างกัน แน่นอนว่า อุปนิสัย ความชอบ ความสนใจ ความถนัด ฯลฯ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีพลังแห่งจินตนาการสูงขึ้นหลังจากได้พบกับประสบการณ์จริง พวกเขาจะเห็นภาพแห่งความสำเร็จในเรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด ชัดเจนกว่าคนอื่น จึงมีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้ง่ายกว่า

ประสบการณ์จากชีวิตจริง จะประทับลงในจิตใต้สำนึกได้ ต้องมีจินตนาการ เราอาจจะเคยตีแบดมินตัน แต่ผ่านแล้วก็ผ่านเลยไป ไม่เคยจินตนาการต่ออีก ประสบการณ์ในครั้งนั้นก็สูญเปล่า การตีในครั้งต่อไปเราจะไม่เก่งขึ้น เพราะจิตใต้สำนึกจะเข้าใจภาพแห่งจินตนาการเท่านั้น มันไม่มีส่วนเชื่อมต่อโดยตรงกับทวารทางกายทั้งห้า เหมือนอย่างจิตสำนึก

อัจฉริยะของโลกทุกคน ทุกสาขา ค้นพบความลับสุดยอดนี้แล้ว นักศึกษาแพทย์ที่เก่งๆ จะจินตนาการลักษณะของเส้นเลือดร่างกายแต่ละระบบ พยายามบิวด์ความรู้สึกเขาไป แล้วค่อยไปเรียนรู้ลักษณะย่อยของเส้นเลือดแต่ละเส้นในระบบนั้น นิสิตวิศวกรรมที่เก่งๆ สามารถพิสูจน์สมการทางแคลคูลัสได้ โดยคิดย้อนจากคำตอบขึ้นมา ทำให้ไม่ว่าอาจารย์จะกำหนดสมการแบบไหนมา เขาก็ตอบถูกเสมอ เพราะเอาคำถามของอาจารย์นั่นแหละ เป็นตัวตั้งคิดย้อนขึ้นไปพิสูจน์ ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่เพราะพวกเขามีมันสมองที่ใหญ่กว่าคนอี่น แต่เพราะพวกเขาพบความลับนี้ อาจจะด้วยพรสวรรค์ หรือ การเรียนรู้ แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ ไม่มีใครที่สามารถเปิดเผยความลับนี้ให้คนอื่นได้รับรู้

ถ้าเราไปถามศิลปินนักวาดภาพที่เก่งๆ ว่าทำไมถึงวาดภาพได้ขนาดนี้ เขาจะตอบไม่ได้ ทั้งๆที่ ภาพนั้นฝังอยู่ในใจตั้งแต่แรกแล้ว มือเขาเพียงแต่วาดไปตามความรู้สึกเท่านั้นเอง ศิลปินระดับนี้ จึงต้องบิวด์อารมณ์ก่อนทำงานเสมอ เพราะอารมณ์จะทำให้ภาพในใจชัดเจนยิ่งขึ้น วันไหนไม่มีอารมณ์ จะทำงานไม่ได้เลย

ไม่เฉพาะคนเรียนเก่ง เทคนิคการจินตนาการนี้ อ้จฉริยบุคคลของโลกล้วนล่วงรู้แล้ว ในหนังสือ เดอะท็อปซีเคร็ต ยกตัวอย่าง ไทเกอร์วู๊ดส์ ที่เขาบอกเคล็ดลับว่า เขาสร้างภาพแห่งความรู้สึกว่าลูกลงหลุมไปก่อนแล้วทุกครั้ง ก่อนที่จะตีลูกออกไป แล้วลูกจะวิ่งไปตามแรงดึงดูดของความรู้สึก

อีกตัวอย่างในหนังสือ ตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันท์ พระองค์ทรงเห็นว่า ทหารยังบิ๊วด์ความรู้สึกแห่งชัยชนะได้ไม่ชัดพอ พระองค์จึงรับสั่งว่า มื้อต่อไปพวกเราจะไปฉลองกันอย่างอิ่มหนำสำราญในตัวเมืองจันท์ ทหารบิ้วด์ความรู้สึก จนอิน แล้วบอกว่า ถ้าอย่างนั้นหม้อข้าวพวกนี้ก็ไม่มีประโยชน์แล้วสิ ทุบทิ้งให้หมด

ตัวอย่างนี้แสดงว่า ไม่ต้องถึงระดับบรรลุญานหรือฌาน ถ้าสามารถบิ้วด์ความรู้สึก จนถึงระดับที่เท่ากับความรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดแรงดึงดูดให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงๆ

ในหนังสือมีตัวอย่างอีกมาก อ่านแล้วเข้าใจเลย และนี่ถ้ากำหนดสติจนจับความรู้สึกได้ จะมีพลังมากมายมหาศาลขนาดไหน เพราะขนาดทหารซึ่งไม่เคยฝึกกำหนดสติยังจินตนาการบิ้วด์ความรู้สึกได้

ทอม แฮ้งค์ ก็บอกในเรื่อง Cast away ซึ่งคนดูหนังเรื่องนี้จะรู้ว่า เขาเล่นได้ราวกับไปติดเกาะอยู่คนเดียวกลางมหาสมุทรจริงๆ หนังสนุกมาก มีนักข่าวไปถามทอม แฮ้งค์ ว่า ทำไมเล่นได้เหมือนจริงขนาดนี้ ทอมแฮ้งค์ตอบว่า ผมจินตนาการสร้างความรู้สึกขึ้นมาก่อน เป็นความรู้สึกที่เหมือนกับว่า ผมเครื่องบินตกแล้วไปติดเกาะจริงๆ หลังจากนั้น ทุกอย่างมันก็เหมือนจริงเองนั่นแหละ

ทอม แฮ้งค์ ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่เขาสามารถกำหนดเวทนา จนย้อนกลับ ออกทางทวารหก และอายตนภายนอกได้

เล่าไม่หมด แต่ตัวอย่างในหนังสือ จะทำให้ get ทั้ง นโปเลียน จูเลียซ ซีซ่าร์ ไมเคิลแองเจลโล เอดิสัน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ฯลฯ และมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มายืนยันผลด้วย

สมองคนเราถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างไม่แตกต่างกัน สิ่งที่ต่างกันคือความสามารถในการจินตนาการ ซึ่งก็คือความสามารถในการเชื่อมโยงแขนงเส้นใยประสาท ไอน์สไตน์ จึงบอกว่า จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้ จงพยายามจินตนาการไปแล้วอย่าลืมใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย ในที่สุดมันจะมีพลังมหัศจรรย์จากจิตใต้สำนึก มาขับดันให้คุณเกิดการหยั่งรู้โดยอัตโนมัติ


จากคุณ : ปัจจตัง - [ 21 มี.ค. 51 09:12:33 ]


ต่อไปนี้เป็นบางความเห็นจากกระทู้นั้น

ความคิดเห็นที่ 3
ไอน์สไตน์ลืมบอกต่อว่า "จินตนาการที่ปราศจากความรู้ = เพ้อฝัน"

จากคุณ : ไม่มีสมาชิกชื่อนี้

ความคิดเห็นที่ 14
จินตนาการของไอน์สไตน์ หมายถึงแรงดึงดูด ความต้องการ แรงปารถนาใช้สติไม่ใช่ ใช้ความรู้อะไรมากหลอกเราทุกคนก็ทำได้ไอน์สไตน์ไม่ได้จิตนาการว่า จะส้รางระเบิดยังไง หรือจะแก้โจทด้วยวิธีไหนแต่ไอน์สไตน์ จินตนาการว่าเค้าทำได้แล้ว และต้องการให้มันสำเร็จนี่ต่างหากเล่าที่ไอน์สไตน์ พยายามจะบอกความลับที่เค้ารู้เกี่ยวกับ จักรวาลแรงที่มีผลกระทบกับทุกๆคนบนโลก.
จากคุณ : fsis_5

ความคิดเห็นที่ 20
รู้สึกว่าหลายๆคนหลงประเด็นไปนะครับ

จินตนาการ ไม่ใช่จินตนภาพ การทำได้ตามที่ใจสั่ง Mind set นั้นเป็นอีกเรื่องนึง ที่สามารถทำให้เราบรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยพลังจากจิตใต้สำนึก
แต่คำว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้นั้นหมายถึง


คนที่มีจินตนาการ มีสิทธิ์ที่จะสร้างความรู้ได้ โดยอาศัยความรุ้อื่นเข้าช่วย แต่คนที่ไม่มีจินตนการ ถึงจะมีความรู้แค่ไหน ก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
ทั้งสองอย่างมันต้องไปด้วยกัน แต่จินตนาการเป็นส่วนที่ถ้าขาดไป ความรู้และทฤษฏีใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้


จะเห็นว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ จินตนภาพเลย ผมเดาว่า คนเขียนหนังสือเค้าพยายามจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเชื่อในหลักการทำ mind set จึงยกคำพูดของไอสไตน์มาเพิ่มน้ำหนัก

งานวิจัยระดับแนหน้าในหลายๆสาขาวิชา จะเกิดจากการจินตนาการเพิ่มเติม โดยอาศัยฐานความรู้เดิม จากนั้นก็ทำการทดลองพิสูจน์ ถ้ามันเป็นจริง ก็จัดเป็นองความรู้ใหม่

ตัวอย่างเช่น โคลัมบัส จินตนาการว่าโลกกลม จึงจินตนาการต่อไปอีกว่า ถ้าบังคับเรือไปทางตะวันตกเรื่อยๆ ต้องพบประเทศอินเดีย (ในสมัยนั้นยังไม่ทราบกันว่ามีทวีปอเมริกากั้นอยู่) แต่โคลัมบัสไม่พบอินเดีย แต่พบทวีปอเมริกาแทน

จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีจินตนาการที่คิดว่าโลกกลม โคลัมบัสไมม่มีทางออกเรือ แล้วได้ความรู้ใหม่ว่า มีทวีปอเมริกาอยู่ทางทิศตะวันตก

ดังนั้นจินตนาการจึงสำคัญกว่าความรู้ เพราะจินตนาการเป็นหมุดอันแรกที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความรู้และทฤษฏีใหม่ๆ
เป็นความเห็นหนึ่งครับ


ถ้าอยากเก่งมีวิธีฝึกครับ โดยให้พยายามคิดให้ได้ว่า มนุษย์คนแรกที่คิดเรื่องนั้นได้ เค้าคิดได้อย่างไร เพราะความยากของความรู้ต่างๆ อยู่ที่มนุษย์คนแรกที่คิดได้และเข้าใจได้ ซึ่งอันี้ต้องอาศัยพลังแห่งจินตนาการ

พวกเรานั้นมัวแต่เรียนตามความรู้ที่คนอื่นเค้าคิดไว้แล้ว จึงทำให้คิดไม่ได้ ดังนั้นต้องเปลี่ยนวิธีเรียน เป็นนอกจากจะเข้าใจความรู้ที่เค้าคิดไว้แล้ว ยังต้องเข้าใจที่มาด้วยว่า ไอ้คนแรกมันคิดมาได้ไงฟะ ทำบ่อยๆ จะเก่งครับ
จากคุณ : Onunu (tripplebond)

6. จัดกิจกรรมในห้องเรียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ (Pedagogy)

ผมอ่านบทความนี้ด้วยรอยยิ้มครับ มีหลายๆ อย่างที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า "อยากมีประสบการณ์แบบนี้มั่งจัง" การที่เราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ -- และทำให้ได้ดีจนคนอื่นชอบไปด้วย ...

ที่มา - http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rubber-ducky

จัดกิจกรรมในห้องเรียนอย่างไรให้ี่มีประสิทธิภาพ (2)

ช่วงนี้ปิดเทอมใหญ่
ที่มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมเทคนิคการสอนให้กับคณาจารย์
ว่ากันว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่จัดการอบรมด้านการสอนอย่างจริงจังให้กับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
เราต้องเข้าเรียนทั้งหมด 15 ครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์
ครั้งหนึ่งก็เข้าฟัง 3 ชั่วโมง
ถ้าขาดเรียนเกิน 20% ก็จะไม่ได้วุฒิบัตร
เป็นการเรียนแบบจริงๆจังๆเลยทีเดียว

นอกจากนี้ อาจารย์ยังสามารถขอเข้ารับการตรวจเป็น"ผู้สอนคุณภาพ"
ซึ่งถ้าผ่านการตรวจนี้ จะได้เงินเดือนเพิ่มอีกเดือนละ 2000 บาท เป็นเวลา 2 ปี
หลังจากนั้น สามารถขอรับการตรวจเป็นผู้สอนคุณภาพในขั้นที่สูงขึ้นไปอีก
น่าประทับใจผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์
และจริงจังกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยขนาดนี้

โดยส่วนตัวแล้วเราชอบนะ...
เพราะเราว่าอาจารย์มีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้นักศึกษาเรียนดี
โดยเฉพาะนักศึกษาที่ไม่ใช่เด็กหัวดี
เพราะเด็กหัวดี เรียนเองได้ สนใจด้วยตัวเองได้
ส่วนเด็กหัวไม่ดี (และเด็กหัวดีบางคน) จะสนใจเรียนก็ต่อเมื่ออาจารย์สอนดีเท่านั้น
เหมือนเราเองตอนเด็กๆ ถ้าวิชาไหนอาจารย์ที่สอนน่ารัก หรือเท่ๆ
เราก็จะตั้งใจเรียนวิชานั้น และรักวิชานั้นทันที
แล้วเราก็เรียนวิชานั้นได้ดี

นอกจากอาจารย์จะทำให้เด็กมีทัีศนคติที่ดีในวิชานั้นๆแล้ว
การสอนก็มีส่วนสำคัญด้วย
ไม่ใช่ใครๆก็สอน"ดี"ได้
อาจารย์เยอะไปที่สอนไม่รู้เรื่อง สอนน่าเบื่อ สอนแล้วหลับ
อาจารย์ในมหาลัยของรัฐหลายคนก็เป็นแบบนั้น
แถมไม่มีการประเมินตัวผู้สอนอีกด้วย (ไม่รู้ว่าตอนนี้มีแล้วรึยัง)
แต่นักศึกษาในมหาลัยของรัฐไม่ต้องการการดูแลมาก
ยังไงก็ดิ้นรนเองได้อยู่แล้ว...มหาลัยของรัฐเลยไม่ค่อยมีปัญหา
(แต่ตอนนี้ได้ข่าวว่าเริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะได้นักศึกษาที่คุณภาพด้อยลงจาก admission...อิอิ...เราแอบสะใจเล็กๆ)

การ"สอนดี"ของเราหมายถึง การทีทำให้เด็กเข้าเรียนและตั้งใจเรียนได้ตลอดชั่วโมง โดยท้ายชั่วโมง เด็กได้ความรู้กลับไปตามที่อาจารย์ตั้งใจไว้
...ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย...
แค่เราลองนึกชื่ออาจารย์ที่สอนแล้วเราไม่หลับ...ก็ยากแล้ว...
=================================

เมื่อวานไปเข้าฟังการอบรมเรื่อง ภารกิจอาจารย์ที่คาดหวัง
แล้วได้เทคนิคที่น่าสนใจ 7 ข้อ Seven Principles for Good Practice in Undergrauate Education
1. encourages contact between students and faculty,
2. develops reciprocity and cooperation among students,
3. encourages active learning,
4. gives prompt feedback,
5. emphasizes time on task,
6. communicates high expectations, and
7. respects diverse talents and ways of learning.

หลังจากอ่านบทความและฟังการบรรยาย
อ่านแล้วตกใจ...ทำไมคิดเหมือนเราอย่างนี้
ก็เลยอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ว่าในห้องเรียนของเราเป็นอย่างไร

1. encourages contact between students and faculty,
คนเีขียนบทความได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด
ถ้านักเรียนกับอาจารย์มีการติดต่อกันในและนอกห้องเรียนบ่อย จะทำให้เค้ามีแรงผลักดันให้เรียนและอยากเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดเทอม/ปี อาจารย์ควรมีส่วนช่วยแก้ปัญหา(การเรียน/ชีวิต)กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนต่อไปได้ และทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าในตัวเองและอนาคต

อ่านตรงนี้แล้วมันโดนใจจัง
สิงที่เราทำตลอดเทอมที่ผ่านมาก็คือการออน msn เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา
ความตั้งใจแรกของเราคือให้เด็กเข้ามาถามเรื่องเรียน
(วิชา pre-project สอนทำโครงงาน)
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กเข้ามาคุยทุกเรื่อง...
ตั้งแต่ซ่อมคอมพ์ เรื่องหอ เรื่องกิจกรรมรับน้อง เรื่องบอล เรื่องการเมือง
แม้กระทั่งปัญหาชีวิต เรื่องแฟน เรื่องเพื่อน เรื่องที่บ้าน
msn ทำให้เด็กกล้าเข้ามาหาเรานอกเวลาเรียนมากขึ้น
โต๊ะอาจารย์เป็ดยางแทบไม่เคยว่างเว้นจากการมีนักศึกษาเข้ามาหา
ไม่ว่าจะเข้ามาเรื่องเรียน หรือคุยเล่น หรือแวะมากินขนม

ผลสุดท้ายตอนปลายเทอมก็คือ...
วิชานั้น เด็กได้ A ไป 22 คนจาก 30 คน
โปรเจ็คทุกโปรเจ็คเสร็จเรียบร้อยดี
บางโปรเจ็คเสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน
กว่าครึ่ง เสร็จก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์
(วิชานี้ปีก่อนๆ ได้ข่าวว่าโปรเจ็คเสร็จน้อยมาก ตกกันครึ่งค่อนห้อง)
นักศึกษาได้เรียนรู้การทำโครงงาน
นักศึกษามีความรู้สึกที่ดีต่ออาจารย์และวิชาที่เรียน
และที่สำคัญที่สุด นักศึกษามีความมั่นใจในศักยภาพของตัวเองว่า...
...เค้าทำได้ ถ้าเค้าพยายาม...

ว่างๆ ช่วยแวะไปชมผลงานเกมส์ของลูกศิษย์เราหน่อยนะคะ

2. develops reciprocity and cooperation among students,
ข้อนี้เป็นข้อที่เราใช้ในเกือบทุกวิชา
สมัยตอนเราเรียน ป.ตรี เรามีกลุ่มเพื่อนที่สนิทๆกันอยู่ประมาณ 10 คน
เวลาจะสอบ ก็จะนัดกันมาติว
ิวิธีการติวของเราก็คือ
เราจะแบ่งให้อ่านกันเป็นคู่ คู่ละ 30-50 หน้า
แล้วมาติวให้ทั้งกลุ่ม
ดังนั้น textbook 300 หน้า เราก็ได้อ่านกันคนละ 30 หน้า
แต่ได้เนื้อหาครบทั้งเล่ม
โดยในหัวข้อไหนที่สงสัย ก็จะเอามาถกกันในกลุ่ม
หรือปัญหาข้อไหนน่าจะเป็นข้อสอบ ก็จะเอามาลองทำในกลุ่ม
ทำให้ความรู้ความเ้ข้าใจมากขึ้นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นว่าการเรียนเป็นกลุ่มดีกว่าการเรียนคนเดียว
เราจึงจัดให้นักศึกษาของเราเรียนเป็นกลุ่ม
โดยให้จัดกลุ่มทำโจทย์ให้ห้องเรียน โดยให้เวลาจำกัดมากๆ
เ่ช่น สอนหนึ่งชั่วโมง แล้วให้ตอบคำถาม 15 นาทีสุดท้าย
ข้อดีคือ มีการช่วยกันเรียน ช่วยกันทำความเข้าใจกับเนื้อหา
และช่วยกันหาคำตอบ
และมีการลอกกันน้อย เพราะเวลาที่ให้มีจำกัด (แึ้ค่ทำให้หมดก็ไม่ทันแล้ว)

3. encourages active learning,
ข้อนี้เราค่อนข้างอ่อน
เรายังไม่ค่อยมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำมากนัก
ส่วนใหญ่ก็เป็นโปรเจ็คในรายวิชา
แต่เราตั้งใจว่าปีการศึกษาหน้า จะพยายามจัดงานเขียนโปรแกรม
ให้เป็นโปรเจ็คย่อยมากขึ้น

4. gives prompt feedback,
ข้อนี้สำคัญมาก
เราให้เด็กทำโจทย์เป็นกลุ่มในห้องเรียน
แล้วเราจะตรวจให้เค้าสัปดาห์ต่อสัปดาห์
เด็กจะได้งานคืนสัปดาห์ถัดไป และรู้ feedback ได้ทันทีว่าทำถูกผิดอย่างไร
การที่เด็กได้รู้ feedback อย่างรวดเร็วทำให้เด็กรู้ว่าที่ตัวเองทำถูกหรือไม่
ในขณะที่ยังจำเนื้อหาวิชาตรงจุดนั้นได้อยู่

นอกจากนี้ หากเด็กทำผิด เราให้เค้าทำมาส่งใหม่ได้ และได้คะแนนเพิ่มขึ้น
ทำให้เด็กขวนขวายที่จะหาคำตอบที่ถูกต้องมาส่ง
เด็กหลายกลุ่มส่งงานเดิมถึง 5 ครั้ง เพื่อให้ได้คะแนนเต็ม
ถึงแม้ว่าบางงานมีปัญหา 30 ข้อ แต่ทำผิด 1 ข้อ
เด็กก็จะทำใหม่ทั้ง 30 ข้อมาส่ง
ผลก็คือ เด็กที่ทำงานส่งหลายๆรอบ ได้คะแนนสอบเต็ม

วิธีนี้อาจารย์อาจต้องเสียเวลาตรวจงานเก่ามากหน่อย
แต่เนื่องจากเราใ้ห้เด็กทำเป็นกลุ่ม
งานที่ต้องตรวจจึงมีไม่มากนัก

ส่วน 3 ข้อสุดท้าย
5. emphasizes time on task,
6. communicates high expectations, and
7. respects diverse talents and ways of learning.
ขอติดไว้ก่อนนะคะ ชักจะยาวเกินไปเสียแล้ววันนี้