ที่มา - http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rubber-ducky
จัดกิจกรรมในห้องเรียนอย่างไรให้ี่มีประสิทธิภาพ (2)
ช่วงนี้ปิดเทอมใหญ่
ที่มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมเทคนิคการสอนให้กับคณาจารย์
ว่ากันว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่จัดการอบรมด้านการสอนอย่างจริงจังให้กับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
เราต้องเข้าเรียนทั้งหมด 15 ครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์
ครั้งหนึ่งก็เข้าฟัง 3 ชั่วโมง
ถ้าขาดเรียนเกิน 20% ก็จะไม่ได้วุฒิบัตร
เป็นการเรียนแบบจริงๆจังๆเลยทีเดียว
นอกจากนี้ อาจารย์ยังสามารถขอเข้ารับการตรวจเป็น"ผู้สอนคุณภาพ"
ซึ่งถ้าผ่านการตรวจนี้ จะได้เงินเดือนเพิ่มอีกเดือนละ 2000 บาท เป็นเวลา 2 ปี
หลังจากนั้น สามารถขอรับการตรวจเป็นผู้สอนคุณภาพในขั้นที่สูงขึ้นไปอีก
น่าประทับใจผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์
และจริงจังกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยขนาดนี้
โดยส่วนตัวแล้วเราชอบนะ...
เพราะเราว่าอาจารย์มีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้นักศึกษาเรียนดี
โดยเฉพาะนักศึกษาที่ไม่ใช่เด็กหัวดี
เพราะเด็กหัวดี เรียนเองได้ สนใจด้วยตัวเองได้
ส่วนเด็กหัวไม่ดี (และเด็กหัวดีบางคน) จะสนใจเรียนก็ต่อเมื่ออาจารย์สอนดีเท่านั้น
เหมือนเราเองตอนเด็กๆ ถ้าวิชาไหนอาจารย์ที่สอนน่ารัก หรือเท่ๆ
เราก็จะตั้งใจเรียนวิชานั้น และรักวิชานั้นทันที
แล้วเราก็เรียนวิชานั้นได้ดี
นอกจากอาจารย์จะทำให้เด็กมีทัีศนคติที่ดีในวิชานั้นๆแล้ว
การสอนก็มีส่วนสำคัญด้วย
ไม่ใช่ใครๆก็สอน"ดี"ได้
อาจารย์เยอะไปที่สอนไม่รู้เรื่อง สอนน่าเบื่อ สอนแล้วหลับ
อาจารย์ในมหาลัยของรัฐหลายคนก็เป็นแบบนั้น
แถมไม่มีการประเมินตัวผู้สอนอีกด้วย (ไม่รู้ว่าตอนนี้มีแล้วรึยัง)
แต่นักศึกษาในมหาลัยของรัฐไม่ต้องการการดูแลมาก
ยังไงก็ดิ้นรนเองได้อยู่แล้ว...มหาลัยของรัฐเลยไม่ค่อยมีปัญหา
(แต่ตอนนี้ได้ข่าวว่าเริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะได้นักศึกษาที่คุณภาพด้อยลงจาก admission...อิอิ...เราแอบสะใจเล็กๆ)
การ"สอนดี"ของเราหมายถึง การทีทำให้เด็กเข้าเรียนและตั้งใจเรียนได้ตลอดชั่วโมง โดยท้ายชั่วโมง เด็กได้ความรู้กลับไปตามที่อาจารย์ตั้งใจไว้
...ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย...
แค่เราลองนึกชื่ออาจารย์ที่สอนแล้วเราไม่หลับ...ก็ยากแล้ว...
=================================
เมื่อวานไปเข้าฟังการอบรมเรื่อง ภารกิจอาจารย์ที่คาดหวัง
แล้วได้เทคนิคที่น่าสนใจ 7 ข้อ Seven Principles for Good Practice in Undergrauate Education
1. encourages contact between students and faculty,
2. develops reciprocity and cooperation among students,
3. encourages active learning,
4. gives prompt feedback,
5. emphasizes time on task,
6. communicates high expectations, and
7. respects diverse talents and ways of learning.
หลังจากอ่านบทความและฟังการบรรยาย
อ่านแล้วตกใจ...ทำไมคิดเหมือนเราอย่างนี้
ก็เลยอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ว่าในห้องเรียนของเราเป็นอย่างไร
1. encourages contact between students and faculty,
คนเีขียนบทความได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด
ถ้านักเรียนกับอาจารย์มีการติดต่อกันในและนอกห้องเรียนบ่อย จะทำให้เค้ามีแรงผลักดันให้เรียนและอยากเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดเทอม/ปี อาจารย์ควรมีส่วนช่วยแก้ปัญหา(การเรียน/ชีวิต)กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนต่อไปได้ และทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าในตัวเองและอนาคต
อ่านตรงนี้แล้วมันโดนใจจัง
สิงที่เราทำตลอดเทอมที่ผ่านมาก็คือการออน msn เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา
ความตั้งใจแรกของเราคือให้เด็กเข้ามาถามเรื่องเรียน
(วิชา pre-project สอนทำโครงงาน)
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กเข้ามาคุยทุกเรื่อง...
ตั้งแต่ซ่อมคอมพ์ เรื่องหอ เรื่องกิจกรรมรับน้อง เรื่องบอล เรื่องการเมือง
แม้กระทั่งปัญหาชีวิต เรื่องแฟน เรื่องเพื่อน เรื่องที่บ้าน
msn ทำให้เด็กกล้าเข้ามาหาเรานอกเวลาเรียนมากขึ้น
โต๊ะอาจารย์เป็ดยางแทบไม่เคยว่างเว้นจากการมีนักศึกษาเข้ามาหา
ไม่ว่าจะเข้ามาเรื่องเรียน หรือคุยเล่น หรือแวะมากินขนม
ผลสุดท้ายตอนปลายเทอมก็คือ...
วิชานั้น เด็กได้ A ไป 22 คนจาก 30 คน
โปรเจ็คทุกโปรเจ็คเสร็จเรียบร้อยดี
บางโปรเจ็คเสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน
กว่าครึ่ง เสร็จก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์
(วิชานี้ปีก่อนๆ ได้ข่าวว่าโปรเจ็คเสร็จน้อยมาก ตกกันครึ่งค่อนห้อง)
นักศึกษาได้เรียนรู้การทำโครงงาน
นักศึกษามีความรู้สึกที่ดีต่ออาจารย์และวิชาที่เรียน
และที่สำคัญที่สุด นักศึกษามีความมั่นใจในศักยภาพของตัวเองว่า...
...เค้าทำได้ ถ้าเค้าพยายาม...
ว่างๆ ช่วยแวะไปชมผลงานเกมส์ของลูกศิษย์เราหน่อยนะคะ
2. develops reciprocity and cooperation among students,
ข้อนี้เป็นข้อที่เราใช้ในเกือบทุกวิชา
สมัยตอนเราเรียน ป.ตรี เรามีกลุ่มเพื่อนที่สนิทๆกันอยู่ประมาณ 10 คน
เวลาจะสอบ ก็จะนัดกันมาติว
ิวิธีการติวของเราก็คือ
เราจะแบ่งให้อ่านกันเป็นคู่ คู่ละ 30-50 หน้า
แล้วมาติวให้ทั้งกลุ่ม
ดังนั้น textbook 300 หน้า เราก็ได้อ่านกันคนละ 30 หน้า
แต่ได้เนื้อหาครบทั้งเล่ม
โดยในหัวข้อไหนที่สงสัย ก็จะเอามาถกกันในกลุ่ม
หรือปัญหาข้อไหนน่าจะเป็นข้อสอบ ก็จะเอามาลองทำในกลุ่ม
ทำให้ความรู้ความเ้ข้าใจมากขึ้นอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นว่าการเรียนเป็นกลุ่มดีกว่าการเรียนคนเดียว
เราจึงจัดให้นักศึกษาของเราเรียนเป็นกลุ่ม
โดยให้จัดกลุ่มทำโจทย์ให้ห้องเรียน โดยให้เวลาจำกัดมากๆ
เ่ช่น สอนหนึ่งชั่วโมง แล้วให้ตอบคำถาม 15 นาทีสุดท้าย
ข้อดีคือ มีการช่วยกันเรียน ช่วยกันทำความเข้าใจกับเนื้อหา
และช่วยกันหาคำตอบ
และมีการลอกกันน้อย เพราะเวลาที่ให้มีจำกัด (แึ้ค่ทำให้หมดก็ไม่ทันแล้ว)
3. encourages active learning,
ข้อนี้เราค่อนข้างอ่อน
เรายังไม่ค่อยมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำมากนัก
ส่วนใหญ่ก็เป็นโปรเจ็คในรายวิชา
แต่เราตั้งใจว่าปีการศึกษาหน้า จะพยายามจัดงานเขียนโปรแกรม
ให้เป็นโปรเจ็คย่อยมากขึ้น
4. gives prompt feedback,
ข้อนี้สำคัญมาก
เราให้เด็กทำโจทย์เป็นกลุ่มในห้องเรียน
แล้วเราจะตรวจให้เค้าสัปดาห์ต่อสัปดาห์
เด็กจะได้งานคืนสัปดาห์ถัดไป และรู้ feedback ได้ทันทีว่าทำถูกผิดอย่างไร
การที่เด็กได้รู้ feedback อย่างรวดเร็วทำให้เด็กรู้ว่าที่ตัวเองทำถูกหรือไม่
ในขณะที่ยังจำเนื้อหาวิชาตรงจุดนั้นได้อยู่
นอกจากนี้ หากเด็กทำผิด เราให้เค้าทำมาส่งใหม่ได้ และได้คะแนนเพิ่มขึ้น
ทำให้เด็กขวนขวายที่จะหาคำตอบที่ถูกต้องมาส่ง
เด็กหลายกลุ่มส่งงานเดิมถึง 5 ครั้ง เพื่อให้ได้คะแนนเต็ม
ถึงแม้ว่าบางงานมีปัญหา 30 ข้อ แต่ทำผิด 1 ข้อ
เด็กก็จะทำใหม่ทั้ง 30 ข้อมาส่ง
ผลก็คือ เด็กที่ทำงานส่งหลายๆรอบ ได้คะแนนสอบเต็ม
วิธีนี้อาจารย์อาจต้องเสียเวลาตรวจงานเก่ามากหน่อย
แต่เนื่องจากเราใ้ห้เด็กทำเป็นกลุ่ม
งานที่ต้องตรวจจึงมีไม่มากนัก
ส่วน 3 ข้อสุดท้าย
5. emphasizes time on task,
6. communicates high expectations, and
7. respects diverse talents and ways of learning.
ขอติดไว้ก่อนนะคะ ชักจะยาวเกินไปเสียแล้ววันนี้
Tuesday, March 25, 2008
6. จัดกิจกรรมในห้องเรียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ (Pedagogy)
ผมอ่านบทความนี้ด้วยรอยยิ้มครับ มีหลายๆ อย่างที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า "อยากมีประสบการณ์แบบนี้มั่งจัง" การที่เราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ -- และทำให้ได้ดีจนคนอื่นชอบไปด้วย ...